Header image  
Department of Agricultural Extension & Communication  
line decor
  
line decor
 
 
 
 
 

  ฉบับที่ 3 ปีที่ 1 ประจำเดือน กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2553
 
ทักทาย by editor

         ท่านผู้อ่านคงจำกันได้เมื่อหน้าร้อนที่ผ่านมา(เม.ย.-มิ.ย.) โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเรานั้นอุณหภูมิเกือบ 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ขณะเดียวกันระดับของแม่น้ำโขงก็ลดลงมากกว่าปีก่อนๆ ทำให้หลายคนคิดว่าปี 2553 อาจจะแล้งยาวกว่าทุกปี..แต่พอเข้าเดือนหกไม่ทันไร ฝนก็กระหน่ำลงมาจนถึงวันนี้เดือนกันยายนก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดตกเลยครับผม อย่่างไรก็ดีก็อยากให้ผู้อ่านดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างด้วยนะครับ
         ท้าวความไปยังฉบับที่แล้วได้พูดถึงเทคนิคการทานมังคุดที่ทำให้มือเลอะน้อยที่สุุดไปแล้วหวังว่าคงจะมีผู้อ่านลองทำตามกันดูบ้างแล้วนะครับ ได้ผลอย่างไรก็ส่งอีเมลล์มาเล่าให้เราฟังบ้างก็จะขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้เลยครับ..ในฉบับนี้ผมขอพูดถึงผลไม้อีกเช่นกัน แต่จะเป็นเรื่องอะไรนั้นก็ติดตามได้ในหัวข้อ "สารพันธุ์ส่งเสริม" เช่นเคยครับ
        กิจกรรมของภาควิชาฯ ช่วงที่ผ่านมาโครงการปริญญาโทส่งเสริมการเกษตรสำหรับผู้บริหารและโครงการปริญญาโทสาขาการสื่อสารเพื่อการพัฒนา ก็ได้พาคณาจารย์และนิสิตไปศึกษาดูงานแต่จะไปที่ไหนบ้างนั้น ก็สามารถดูได้ในฉบับบนี้ครับ ส่วนข่าวประชาสัมพันธ์ และร้านอาหารเด็ดๆ ที่ไม่ไกลจากม.เกษตร บางเขน ของเราก็มีมานำเสนอในคอลัมน์ Taste&Travel by Tuangsup ครับ..
 

สารพันธุ์ส่งเสริม

         ผมได้รับอีเมลล์จากเพื่อนที่อยู่ จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นฟอร์เวิร์ดเมลล์อีกทีหนึ่งและผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่นำมาเป็นสารพันธุ์ส่งเสริมในฉบับนี้เพื่อบอกต่อกันครับ
สับปะรดเป็นผลไม้อีกหนึ่งชนิดที่เวลารับประทานแล้วจะต้องมีขั้นตอนที่ต้องอาศัย์ชั่วโมงบินในการปอกพอสมควรจึงจะปอกได้สวยงามน่ารับประทาน
แต่อย่าเพิ่งคิดนะครับว่าผมจะมาสอนวิธีการปอกสับปะรดด้วยวิธีการอ่านแล้วทำตามกันไปก็อาจจะธรรมดาเกินไป
..
         แต่เป็นเจ้าตัวสับปะรดเองต่างหากที่มีความพิเศษ
เพราะสับปะรดพันธุ์นี้ท่านผู้อ่านสามารถแกะออกมารับประทานได้คล้ายกับน้อยหน่าตามรายละเอียดด้านล่างนี้เลยครับ

         หน้าตาของสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี เหมือนสับปะรดทั่วไป ขนาดใหญ่สุดโดยประมาณอยู่ที่ 1 กก. ดีไซน์สับประรดเพชรบุรีจะเป็นทรงเจดีย์ คือโป่งตรงก้น ส่วนด้านหัวจะมีขนาดลีบลงไปเรื่อย ๆ
  ลักษณะของตาค่อนข้างใหญ่และโปน
ทำให้ดึงออกมารับประทานทีละตาได้สะดวก เนื้อมีสีเหลืองอมส้ม มีกลิ่นหอมแรง ส่วนหัวจะมีรสหวานอมเปรี้ยว แต่บริเวณก้นจะออกหวาน
กรณีที่แก่จัดหรือที่ตามีสีเหลืองจะหวานมาก

 
 
 
 

           มือใหม่หัดแกะค่อนข้างลำบากนิดหนึ่ง เราจะเจาะนำร่องเพื่อให้ได้พื้นที่โล่ง ๆ กันก่อน จากนั้นจึงทยอยฉีกทีละตามารับประทาน ลูกแรกเราทำการเจาะตรงกลางลูกเลย
แต่ลูกนี้เรานำมาตัดจุกออกไปก่อน ซึ่งจะทำให้ปาดไปโดนตาสับปะรดติดไปด้วย ดังนั้นตาที่โดนตัดแล้วเหลือไม่เต็มตาเราเลาะออกไปด้วยมีดทีละตาให้เหลือตา เต็ม ๆ เท่านั้น
จากนั้นจึงค่อยเลาะเด็ดตาเต็ม ๆ ที่เหลือมารับประทานทีละตา
ตาที่อยู่ส่วนหัวนี้จะมีขนาดเล็กกว่าตาที่อยู่ส่วนล่าง ประกอบกับยังมีสีเขียวอยู่ จึงแกะยากกันนิดหนึ่ง
ตาที่อยู่ช่วงบน ๆ เล่นเอาเจ็บมือเหมือนกัน
แต่ประสบการณ์จะบอกเองว่าควรจะแกะอย่างไรให้มันง่ายขึ้นอาจต้องใช้มีดเลาะแกนออกไปนิดหน่อยเพื่อนำร่อง เมื่อแกะไปเรื่อย ๆ
จนลงด้านล่างรู้สึกว่าจะแกะได้ง่ายขึ้น อาจเป็นเพราะตาใหญ่ขึ้นหรือด้านล่างจะสุกมากกว่าด้านหัว

ถ้าที่เปลือกมีสีส้มหรือออกเหลืองแบบว่าสุกมากนิดหนึ่งจะมี รสหวานจัดหรือ หวานมาก ๆ ส่วนหัวจะมีรสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย กลิ่นหอมแรงตามคำโฆษณาไว้เลย
แต่เวลาเลาะ
ออกทีละตาไปเรื่อย ๆ ปริมาณน้ำจะฉ่ำตามขึ้นมาตามลำดับ ต้องคอยเทน้ำทิ้งอยู่บ่อย ๆ ไม่งั้นจะพาลไหลหยดย้อยเลอะเทอะหมดนะคะ ท่านเจ้าคุณอาของเราบ่นว่า
ผ่ามากินเหมือนสัปปะรดทั่วไปก้อหมดเรื่อง
ไม่ต้องมาแกะทีละตา มือก้อไม่ต้องเลอะอยู่ตลอดเวลาด้วย ซึ่งพวกเราเห็นว่าการกินสัปปะรดพันธุ์เพชรบุรีที่จะให้ได้อรรถรสสูง
ควรแกะทานทีละตา
ไม่งั้นเสียสายพันธุ์หมดนะคะ ความจริงแล้วจะว่าแกะยากก้อไม่เชิง จะว่าแกะง่ายไม่ใช่ แต่การแกะตาน้อยหน่าหรือแกะขนุนง่ายกว่าแยะมาก
คือต้องมีความพยายามและมีเทคนิคกันนิดหนึ่ง ลูกแรกอาจจะแกะตาลำบากนิดหนึ่งนะคะ

ปกติถ้าไม่ชอบทานสับปะรด แต่ส่วนมากก้อชอบที่จะกินแกนสับปะรด ซึ่งแกนสับปะรดทั่วไปมักจะมีรสจืด ยิ่งตรงกลางสุด ๆ จะจืดสนิทเลย แต่แกนสับปะรดพันธุ์เพชรบุรีสุดยอดมาก
เมื่อแกะตาวน
ๆ ไปทีละชั้นจะเหลือแกนโผล่อยู่ตรงกลาง พอแกนโผล่หน่อยจะแย่งกันตัดแกนเพื่อนำไปรับประทานกันอยู่ตลอดเวลา จากนั้นมาไล่แกะตากันต่อ
เราใช้วิธีแกะออกทีละตาแล้วเรียงใส่จานไว้ให้ผู้ใหญ่หรือแขกได้กินง่ายขี้น ยิ่งถ้ามีไม้จิ้มฟันเสียงแทงไว้ในทุกตาที่แกะไว้ จะทำให้คนชิมไม่ต้องหยิบแล้วเลอะมือเลย
ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับคนรอบข้างกินได้ง่ายขึ้นอีกวิธีหนึ่งนะคะ

            สำหรับหน่อที่นำมาปลูกนั้น ปัจจุบันดูเหมือนว่ามีสุขภาพที่ดีพอสมควร แต่เนื่องจากช่วงนี้ที่บ้านอยู่ในระหว่างการปรับปรุงพื้นที่สีเขียว จะมาอัพเดทภาพให้ดูในภายหลัง
เพื่อนสมาชิกท่านใดสนใจสัปปะรดพันธุ์เพชรบุรี
สามารถติดต่อหรือขอรายละเอียดได้โดยตรงที่เจ้าของผลงาน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ติดถนนบายพาสชะอำ-ปราณบุรี
ต.สามพระยา อ.ชะอำ
จ.เพชรบุรี โทร. 032-594-067-8

ขอขอบคุณ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=spicy&month=12-05-2010&group=31&gblog=1 เอื้อเฟื้อข้อมูลครับ..

กิจกรรม

          วันที่ 7 - 12 สิงหาคม 2553 โครงการปริญญาโทส่งเสริมการเกษตรสำหรับผู้บริหาร นำโดย อาจารย์สุโชติ ดาวสุโข นำนิสิต ExAE รุ่นที่ 5 เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ มหานครเซียงไฮ้,
เมืองหังโจว มณฑลเจ๋อเจียง, และเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้ความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มวิสัยทัศน์และประสบการณ์ด้านการส่งเสริม
การผลิต พัฒนา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีภาคการเกษตร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจและสังคม

         วันที่ 6 กันยายน 2553 อ.ธานินทร์ คงศิลา ได้นำนิสิตคณะเกษตรระดับปริญญาตรี ที่ลงเรียนรายวิชา 01001457 ไปศึกษาดูงาน ณ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม(สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม

          วันที่ 9 - 12 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา โครงการปริญญาโทสาขาการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (Development Communication Program) นำโดย รศ.ดร.จำนงรักษ์ อุดมเศรษฐ์ (ประธานโครงการฯ)
และนิสิตรุ่นที่ เดินทางไปศึกษาดูงาน ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งการศึกษาดูงานในครั้งนี้เป็นการดูงานที่่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาการสื่อสารเพื่อการพัฒนา เช่น ศูย์วัฒนธรรมประเทศเกาหลี,
องค์การสหประชาชาติ(UNESCO), สถาบัน ICT และ ศูนย์สารสนเทศชุมชน อีกทั้งการชมภูมิทัศน์ในอ่าวฮาลอง เบย์ (Halong Bay) และตลาดนัดยามค่ำคืน(Hanoi Night Market)

 

ข่าวประชาสัมพันธ์

            รับสมัครเพื่อจ้างและคัดเลือกบุคคลเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งอาจารย์ จำนวน 2 ตำแหน่ง

            ในวันที่ 2 - 3 ธันวาคม 2553 นี้ สาขาสื่่อสารและพัฒนาการเกษตร ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร ได้จัดบูธกิจกรรมโครงการ Open House 2553 ให้นักเรียนที่เข้ามาร่วมงาน
ได้ทดลองผลิตสื่อโทรทัศน์ วิทยุ อย่างง่ายภายใต้แนวคิด "Mini Studio" โดยมีนิสิตทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท เป็นผู้ควบคุมการผลิตทั้งหมด ก็ขอเชิญชวนน้องนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ
เข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ห้องโถง อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร บางเขน นะครับ


Taste & Travel

         ฉบับนี้เราเอาใจผู้ที่ชอบทานก๋วยเตี๋ยวเป็ด ข้าวหน้าเป็ด ข้าวหมูแดงหมูกรอบกันครับ จุดเด่นของร้านนี้คือ 1. เป็ด พี่เค้าตุ๋นเอง หมูแดงหมูกรอบและน้ำที่ราดพี่เค้าก็ทำเองครับ ใครอยากดูก็สามารถ
ขอพี่เค้าไปดูหลังร้านได้เลย 2. ราคามาตรฐานครับ 30 บาท แต่ปริมาณข้าวและกับที่ได้นั้น รับรองว่าพุงกางแน่นอน ร้านนี้เดิมทีเค้าจะเปิดตั้งแต่ 6โมงเย็นจนถึงตี2 ครับ แต่ปัจจุบันทางเจ้าของร้าน
(พี่ป้อมและพี่ปลา) เค้าได้เปลี่ยนเวลาทำการเป็น 8โมงเช้า ไปจนถึง เกือบๆ 4ทุ่ม ร้านตั้งอยู่ที่ถนนลาดปลาเค้า หากไปจากม.เกษตรก็เลยวัดลาดปลาเค้าไป ขับไปเรื่อยๆ จนสังเกตเห็นตึกแถวสีเขียวด้านขวามือ ก็ให้ชะลอความเร็วแล้วมองหาป้ายที่เขียนว่า "ก๋วยเตี๋ยวเป็ด" ดังรูปด้านล่างนี้ ..ก่อนจากกันไปหากทานเยอะไปก็อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายกันด้วยนะครับ

เมนูเกาเหลาเป็ดครับ
ข้าวหมูแดงหมูกรอบ (แบบธรรมดา)

บรรยากาศยามค่ำ
ผักสดทานกับก๋วยเตี๋ยว มีทั้งเมนูเป็ดและหมูแดงหมูกรอบครับ บริเวณหน้าร้านครับ (สังเกตดีๆนะครับ เดี๋ยวจะเลยร้าน)